ป้องกันอย่างไร ให้ปลอดภัยจาก…ยาบ้า
  • ควรหาความรู้ความเข้าใจถึงโทษและพิษภัยเกี่ยวกับยาเสพติดโดยเฉพาะยาบ้า
  • อย่าหลงเชื่อคำชักชวนให้ลองใช้ และคิดเสมอว่ายาบ้าไม่ใช่สิ่งที่ควรลอง
  • ใช้สติปัญญาในการคิดแก้ปัญหาชีวิตอย่างเหมาะสมถูกต้องและไม่ใช้ยาเสพติดเป็นที่พึ่ง
    ช่วยเหลือและร่วมมือในการรงณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
  • แจ้งข่าวผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้เสพ เพื่อลงโทษตามกฎหมายได้ที่ สำนักงาน ป.ป.ส. ถนนดินแดง
    แขวงสามเสนใน    เขตพญาไท กรุงเทพฯ10400 โทร 02-245-9414โทรสาร02-246-8526
    ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติดสำนักงานตำรวจ แห่งชาติโทร 02-1688
ต้องการบำบัดรักษา ปรึกษาได้ที่
ผู้ป่วยเนื่องจากยาเสพติด
  • โรงพยาบาลธัญญารักษ์ อ.ธัญบุรี จ. ปทุมธานี โทร 02-531-0080 ถึง 8
  • โรงพยาบาลตำรวจ โทร 02-252-8111 ต่อ ห้องจิตเวช
  • โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โทร 02-246-0046 ต่อ 1387,3189
  • โรงพยาบาลของรัฐบาล ทั่วประเทศ
  • กองป้องกันและบำบัดยาเสพติด สำนักอานามัย กรุงเทพฯ โทร 02-248-5746 ถึง 7
    ศูนย์ประสานงานกลางองค์การภาคเอกชนต่อต้านยาเสพติด สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
    ในพระบรมราชูประถัมภ์ โทร 02-245-5522, 2461457 ถึง 61 ต่อ 501,502
ยาบ้า… ผลิต เสพ ค้า… คุก
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ยาบ้าจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 เช่นเดียวกับ เฮโรอีน และยาอี
มีโทษตามกฎหมาย ดังนี้
  • ผู้ผลิตนำเข้า ส่งออก มีโทษจำคุกตลอดชีวิต ถึงประหารชีวิต.
  • ผู้จำหน่าย มีโทษจำคุก 5 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 50,000-500,000 บาท หากมีปริมาณจำหน่ายเป็นสารบริสุทธิ์
    เกิน 100 กรัม มีโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต
  • ผู้ครอบครอง มีโทษจำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับ 10,000 - 100,000 บาท
  • ผู้เสพ มีโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับ 5,000 - 100,000 บาท
  • ผู้ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ข่มขืนใจให้ผู้อื่นเสพ มีโทษจำคุก 2 ปี ถึง 20 ปี และปรับ 20,000 - 200,000 ถ้ากระทำ
    โดยมีอาวุธ มีโทษจำคุก 4 ปี ถึง 30 ปี และปรับ 40,000 - 300,000 บาท ถ้ากระทำกับเด็กและหญิงมีโทษประหารชีวิต
  • ผู้ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ มีโทษ จำคุก 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับ 10,000 - 50,000 บาท