อีคิวกับไอคิวต่างกันอย่างไร?
ไอคิว หรือ Intelligence Quotient หมายถึง ความฉลาดทางเชาว์ปัญญา การคิด การใช้เหตุผล การคิดคำนวณ การเชื่อมโยง
อีคิวหรือ Emotional Quotient หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์เป็นความสามารถในการับรู้และเข้าใจอารมณ์ทั้งของตัวเองและ
ผู้อื่นตลอดจนสามารถปรับหรือควบคุมได้อย่างเหมาะสมกับสภาวะการณ์ ไอคิว เป็นศักยภาพทางสมองที่ติดตัวมาแต่กำเนิดเปลี่ยน
แปลงแก้ไขได้ยาก อีคิว ถึงแม้จะเป็นศักยถาพทางสมองเหมือนกันแต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนพัฒนาให้ดีขึ้นได้ ไอคิว สามารถวัด
ออกมาเป็นค่าสัดส่วนตัวเลขที่แน่นอนได้ อีคิว ไม่สามารถระบุชี้ออกมาเป็นค่าสัดส่วนตัวเลข
การวัดไอคิว เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1905 โดยนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศสที่ต้องการแยกบุคคลปัญญาอ่อนออกจากคนปกติ เพื่อจะได้จัดการ
ศึกษาให้เหมาะสม โดยใช้การเปรียบเทียบระหว่างความสามารถที่ควรจะเป็นกับอายุสมองแล้วคำนวณออกมาเป็นเปอร์เซนต์ ปัจจุบัน
การวัดไอคิวมักใช้แบบทดสอบของ เวสเลอร์ ที่เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 โดยอาศัยงานวิจัยของนักวิชาการและนักการทหาร
เป็นกลุ่มข้อทดสอบทั้งหมด 11 กลุ่ม เป็นกลุ่มที่ต้องใช้ภาษาโต้ตอบ 6 กลุ่ม ไม่ต้องใช้ภาษาโต้ตอบ 5 กลุ่ม ดังนี้
  1. ข้อมูลทั่วไป เป็นคำถามเพื่อตรวจวัดความสนใจ
2. ความคิดความเข้าใจ
3. การคิดคำนวณ
4. ความคิดที่เป็นนามธรรม โดยให้หาความเหมือน
5. ความจำระยะสั้น โดยใช้การจำจากตัวเลข
6. ภาษาในส่วนของการใช้คำ
7. การต่อภาพในส่วนที่ขาดหายไป
8. การจับคู่โครงสร้าง โดยดูจากรูปร่างหรือลวดลาย
9. การเรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ
10.การต่อภาพเป็นรูป ด้วยการต่อจิ๊กซอว์
11.การหาความสัมพันธ์ของตัวเลขและสัญลักษณ์
กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ โดยประเมินจากความสามารถด้านหลัก 3 ด้านคือ ดี เก่ง สุข ซึ่งแยกเป็นด้านย่อยได้ 9 ด้าน

1. การควบคุมตนเอง
2. ความเห็นใจผู้อื่น
3. ความรับผิดชอบ
4. การมีแรงจูงใจ
5. การตัดสินใจแก้ปัญหา
6. สัมพันธภาพกับผู้อื่น
7. ความภูมิใจในตนเอง
8. ความพอใจในชีวิต
9. ความสุขสงบทางใจ
เนื่องจากไอคิวสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ จึงมีผู้ให้ความสำคัญกับไอคิวมาโดยตลอด เด็กที่เรียนเก่ง จะมีแต่คนชื่นชม พ่อแม่
ครู อาจารย์รักใคร่ ต่างจากเด็กที่เรียนปานกลางหรือเด็กที่เรียนแย่มักไม่เป็นที่สนใจ หรือถูกดุว่าทั้งที่เด็กเหล่านี้อาจมีความสามารถ
ทางด้านอื่น เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะเพียงแต่ไม่มีความถนัดเชิงวิชาการเท่านั้นเองมาในช่วงหลัง ๆความเชื่อมั่นในไอคิวเริ่มสั่นคลอน
เมื่อมีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการวัดและความสำคัญของไอคิว จนในที่สุดเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาจึงยอมรับกันว่า แท้จริงแล้วในความเป็น
จริงชีวิตต้องการทักษะและความสามารถในด้านอื่น อีกมากมายที่นอกเหนือไปจากการจำเก่ง การคิดเลขเก่ง หรือการเรียนเก่งความ
สามารถเหล่านี้อาจจะช่วยให้คน ๆ หนึ่งได้เรียน ได้ทำงานในสถานที่ดี แต่คงไม่สามารถเป็นหลักประกันถึงชีวิตที่มีความสุขได้
ย้อนกลับ 1 2 3 ต่อไป