เทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

 

การสร้างความฉลาดทางอารมณ์ในที่ทำงานจากการพัฒนาที่ตัวเราเอง
และการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นมีเทคนิคดังนี้
1. เช่น ดีใจ เสียใจ อิจฉา ฯลฯ และมีการแสดงออกที่ต่างกรรมต่างวาระกันไป แต่ละคนจะมีอารมณ์และความรู้สึก ที่ผันแปร
    แตกต่างกันไป ยากที่จะนำความรู้สึกดี-ชั่ว ของตัวเราเองไปตัดสินได้ การตัดสินความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เหตุผล
    วัยปัจจัย ทางสังคมและการกำหนดทางวัฒนธรรม
2.รับฟัง ทำความเข้าใจและให้เกียรติผู้อื่น การยอมรับและเข้าใจภาวะที่บางคนแสดงออก เป็นสิ่งจำเป็นในการ เสริมสร้าง
   ความภาคภูมิใจตนเอง การรักษาหน้า ความมั่นใจ ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพ   และผลผลิตที่
   บุคคลมีส่วนต่อองค์กร การปฏิเสธที่จะรับฟังหรือทำความเข้าใจกับภาวะอารมณ์ที่แสดงออก เช่น   การเพิกเฉย
   วิพากษ์ตำหนิ การเห็นเป็นเรื่องปกติ การบั่นทอนล้อเลียนความรู้สึกของบุคคลเป็นการทำลายระดับ   ความมั่นใจในตน
   เองความคิดสร้างสรรค์ และเกียรติภูมิแห่งตนของผู้อื่นและเป็นการไม่เคารพความเป็นปัจเจกบุคคลอิกด้วย
3.การแก้ไขความขัดแย้ง บางครั้งการใช้เพียงเหตุผลแต่โดยลำพัง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางอารมณ์ความรู้สึกได้ควรยอม
   รับความรู้สึกโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ก่อน แล้วค่อยมาพิจารณาการแสดงออกผู้มีความฉลาดทางอารมณ์ สูงกว่าจะไม่ใช้วิธีการ
   ที่บั่นทอนความรู้สึกของคนอื่น แต่ความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ได้ดี จะช่วยทั้งความรู้สึกของตนเองและช่วยให้
   อีกฝ่ายสงบลงได้ การที่บุคคลแสดงภาวะอารมณ์ออกมาในทางลบ เช่น โกรธ เสียใจ เศร้าซึม อาฆาต ไม่ให้อภัย แสดงให้
   เห็นว่าความต้องการทางอารมณ์และไม่ได้รับการตอบสนอง ยังมีความตึงเครียด   ในจิตใจ ผู้บริหาร เพื่อนร่วมงานและผู้
   เกี่ยวข้อง ควรทำความเข้าใจภาวะอารมณ์ของตน เพื่อความพอใจภาวะอารมณ์   ของผู้อื่น เปิดโอกาสให้แต่ละคนได้แสดง
   อารมณ์ ความรู้สึกรับฟังด้วยความเข้าใจ เห็นใจและยอมรับภาวะอารมณ์    ที่เกิด ซึ่งจะส่งผลต่อการยอมรับตนเองและ
   ความมั่นคงทางจิตใจ ส่งผลต่อการพัฒนาความคิด การมี  มนุษยสัมพันธ์ ที่ดี เพิ่มขวัญกำลังใจ ความร่วมมือและความช่วย
   เหลือซึ่งกัน และกันในการปฏิบัติงาน
4.ในกรณีที่บุคคลแสดงภาวะอารมณ์ทางลบในระดับที่รุนแรง เช่น เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายคาดคะเนพฤติกรรมไม่ได้หรือ ไม่
   สามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาได้เลยพูดมากเกินปกติ เปลี่ยนหัวข้อพูดคุยรวดเร็ว หงุดหงิดง่าย มี   ปฏิกิริยา
   มากเกินไปต่อเหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ฯลฯ ผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานควรหามาตรการและทางบำบัด   แก้ไขในกรณี
   ของผู้ที่ไม่สามารถสื่อความรู้สึกและภาวะอารมณ์กับผู้อื่นได้ผู้บริหารอาจโยกย้ายไปทำงานที่ไม่เกี่ยว   ข้องกับผู้คนมาก
   นักทำคนเดียวได้สำเร็จ หาพนักงานที่กล้าแสดงออกและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมาเป็นเพื่อนชวน   พูดคุยกระตุ้นให้เขา
   ได้มีโอกาสแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นโดยรู้สึกว่ามีคนยอมรับฟังตน
ย้อนกลับ 1 2 3